ค้นหาหนัง

Chungking Express | ผู้หญิงผมทอง ฟัดหัวใจให้โลกตะลึง

Chungking Express | ผู้หญิงผมทอง ฟัดหัวใจให้โลกตะลึง
เรื่องย่อ : Chungking Express | ผู้หญิงผมทอง ฟัดหัวใจให้โลกตะลึง

เรื่องราวความรักอารมณ์เหงาๆ 2 เหตุการณ์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน แต่เชื่อมโยงกันด้วยเวลาและสถานที่ ที่ดูเหมือนสวนทางกันไปมาตลอดเรื่องราว เรื่องแรกเป็นเรื่องของตำรวจหนุ่มที่เพิ่งเลิกรากับแฟนสาวก่อนวันเกิดของตัวเองเพียงไม่กี่วัน อันทำให้เขาเกิดคำถามว่า สิ่งใดๆ ก็ต้องมีวันหมดอายุเช่นนั้นหรือเปล่า เหมือนอาหารกระป๋องที่ถูกตีตราไว้แต่แรกว่ามันจะหมดอายุวันไหน... หรือความรักของเขาจะถูกตีตราวันหมดอายุมาแต่แรกแล้วเช่นกัน หลังจากนั้นเขาก็ออกไปปลอบใจตัวเองที่บาร์ พยายามหาทางที่จะลืมซึ่งความเจ็บปวด พลางคิดไปว่าหากใครสักคนที่เข้ามาในชีวิคเขาเป็นคนแรก คนๆ นั้นอาจเป็นคู่แท้ของเขาก็ได้... และผู้หญิงผมทองคนหนึ่งก็เดินเข้ามาสู่ชีวิตเขา...เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของสาวลูกจ้างร้านฟาสต์ฟู้ดคนหนึ่ง ที่แอบชอบนายตำรวจหนุ่มที่เพิ่งอกหัก และแฟนสาวของเขาก็ฝากให้เธอช่วยเอากุญแจสำรองห้องของตำรวจหนุ่มคนนั้นไปคืน พร้อมฝากจดหมายฉบับหนึ่งให้เขาด้วย... และนั่นคือจุดเริ่มแห่งความเปลี่ยนแปลงของเขาและเธอ

IMDB : tt0109424

คะแนน : 9



Chungking Express’ หรือชื่อไทยอย่างยาว ‘ผู้หญิงผมทอง ฟัดหัวใจให้โลกตะลึง’ ภาพยนตร์ในปี 1994 ที่ถ่ายทำกันในฮ่องกงล้วนๆ

จริงๆ แล้ว หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งเรื่องที่ผมเคยจะได้ดูเมื่อนานมาแล้ว เพราะทั้งซื้อแผ่นดีวีดีมาไว้ใกล้ตัวแล้วแท้ๆ แต่สุดท้ายก็กลับกลายเป็นว่าได้มานั่งดูในโรงหนังแทน ซึ่งก็ได้อารมณ์ในแบบที่ควรจะเป็นเหมือนกันนะ

เรื่องนี้เป็นเรื่องตำรวจที่อยู่กับเปลี่ยวเหงาในฮ่องกง งานนี้ นอกจากใช้ผู้ควบคุมงานภาพเป็น Christopher Doyle แล้วก็ยังมี Andrew Lau มาร่วมงานด้วย

ความรักก็เหมือนกับทุกสรรพสิ่งที่ต้องมีวันหมดอายุ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะรับได้เมื่อวันนั้นมาถึง

หนังเรื่องนี้จะพาคนดูไปพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย หนึ่งคือ 223 ( Takeshi Kaneshiro/ทาเคชิ คาเนชิโระ จากหนังเรื่อง ‘House of Flying Daggers’ และ ‘Fallen Angels’ )  ที่หัวใจเจ็บหนักจากการโดนทิ้ง เขาใช้เวลาตามหาสับปะรดกระป๋องที่กำลังหมดอายุและรอคอยแฟนเก่า 

ส่วนอีกราย 663 ( Tony Chiu-Wai Leung/เหลียงเฉาเหว่ย จากหนังเรื่อง ‘In the Mood For Love’ และ ‘2046’ ) นายตำรวจเอาแต่พร่ำเพ้อไปกับสิ่งของที่อยู่รอบกาย โดยที่ทั้งคู่ไม่รู้ตัวเลยว่า ความรักครั้งเก่าที่หมดอายุไปแล้ว อาจเป็นจุดเริ่มต้นของความรักครั้งใหม่ที่มาแบบไม่ทันตั้งตัวก็ได้

นี่คงเป็นหนังเรื่องแรกที่ส่งให้ หว่องกาไว กลายเป็นที่รู้จักในระดับโลก หลังจากฉายในฮ่องกงช่วงปี 1994 แล้วก็ได้ผู้กำกับชื่อดังอย่าง เควนติน ทาแรนติโน่ แฟนตัวยงของเขาเนี่ยแหละ ที่นำหนังไปฉายแบบจำกัดโรงในอเมริกาผ่านทาง Miramax ในปี 1996

จากนั้น ผู้คนก็ได้รู้จักทั้งตัวผลงาน และสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์

สี่คนเหงาบนเกาะฮ่องกง
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ นอกจากมีซูเปอร์สตาร์ชายทั้งสองแล้วก็ยัง ดาราดังฝั่งหญิงอยู่ถึงสองคนด้วย ไม่ว่าจะเป็น Brigitte Lin/หลินชิงเสีย ที่เล่นเป็นสาวผมบลอนด์ผู้มีอาชีพด้านการค้ายาและคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นมาเฟีย เธอใช้ชีวิตอยู่ไม่ไกลจากตำรวจหนุ่ม 223 ที่แสดงโดย Takeshi Kaneshiro/ทาเคชิ คาเนะชิโระ มากมายนัก มักจะเฉียดกันไปมา จนวันที่พวกเขาได้มาเจอกัน

223 เป็นคนเหงาในฮ่องกงที่ชอบตั้งคำถามกับความสัมพันธ์ ว่ามันจะมี ‘วันหมดอายุ’ มั้ย?

จะว่าไป เขาก็เป็นคนประหลาดคนหนึ่ง ชอบกินสับปะรดกระป๋องแถมชอบซื้อแต่กระป๋องที่มีวันหมดอายุเป็นวันที่ 1 แล้วความรักล่ะ จะมีวันหมดอายุมั้ย?

นอกจากหลินชิงเสียแล้ว ก็ยังมีอีกคน เธอคือ Faye Wong/เฟย์หว่อง/หวังเฟย ที่หนนี้มาในลุคของอาเฟย สาวผมสั้นที่เข้ามาเป็นลูกมือของคุณลุง และได้พบเจอกับตำรวจหนุ่ม 663 ที่แสดงโดย Tony Chiu-Wai Leung/เหลียงเฉาเหว่ย คู่นี้มีความน่ารักด้วยเคมีอันแปลกประหลาด และกลายเป็นว่าฝ่ายหญิงจะรุกมากกว่า ขณะที่ฝ่ายชายยังคงเอาแต่ฝังใจกับรักที่มีกับสาวแอร์โฮสเตจคนเก่า

เหลียงเฉาเหว่ย กับบทหนุ่ม 663 ก็เป็นตัวละครคนเหงาอีกเช่นกัน ในเรื่องนี้ เขาต้องเล่นเป็นคนที่มีนิสัยชอบพูดคุยกับสิ่งของในห้อง ก็เป็นโมเมนต์ประหลาดที่ชวนขำดี

หนังหว่องที่เป็นมิตรกับคนดูที่สุด
หนังแบ่งเป็นสองครึ่งอย่างชัดเจน แต่อารมณ์ก็ต่างกันชัดเจนเช่นกัน ครึ่งหลังนี่ทำให้คนดูหัวเราะกันคิกคักกับเรื่องราวที่ดูอบอุ่นหัวใจ แต่ก็แอบหวั่นๆ อยู่เหมือนกันว่า พฤติกรรมแบบนี้ ถ้ามองในมุมคนปัจจุบัน แถมยิ่งสลับเพศกัน ให้ฝ่ายชายไปรุกล้ำแอบเข้าห้องฝ่ายหญิง มีหวังถูกหาว่าเป็นสตอล์กเกอร์และกลายเป็นฝ่ายหญิงเองที่จะเข็ดขยาดไปเสียแทน

ในด้านการถ่ายภาพและมุมกล้อง เรื่องนี้ก็ยังคงมีหลากแบบ มีทั้งการเคลื่อนกล้องอย่างไวเพื่อจับภาพตัวละครที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว มองเห็นสิ่งรอบข้างพร่าเลือน ทั้งการถ่ายทำในลักษณะกึ่งแฮนด์เฮล หมุนไปหมุนมา

แต่ก็เป็นหนังของหว่องกาไวที่เป็นมิตรกับคนดูที่สุดแล้ว